วันศุกร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2552

นิทานเรื้อง ลูกเจี๊ยบน้อย

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มี ลูกเจี๊ยบน้อยๆตัวหนึ่ง ซึ่งอยู่กับกระต่าย !!! อ๊ะ อ๊ะ อย่าเพิ่งตกใจนะจ๊ะเด็กๆว่าทำไมลูกเจี๊ยบจึงมาอยู่กับกระต่ายได้เรื่องมีอยู่ว่า วันหนึ่ง เจ้ากระต่ายไปเดินเล่น แล้วบังเอิญ ไปพบลูกเจี๊ยบ กำลังฟักตัว ออกมาจากไข่พอดี เจ้ากระต่ายเกิดเอ็นดูลูกเจี๊ยบ ก็เลยชวนมาอยู่ด้วยตั้งแต่นั้นมา ไม่ว่าเจ้ากระต่ายจะไปไหน เจี๊ยบน้อยก็ไปด้วยเจ้ากระต่ายไปเดินเล่น เจี๊ยบน้อยก็ไปเดินเล่นด้วยเจ้ากระต่ายไปนอนในโพรง เจี๊ยบน้อยก็ไปนอนด้วย มันจะขดตัวนอนในอ้อมกอดอันอบอุ่น ขาวนุ่มของเจ้ากระต่ายเจ้ากระต่ายกินหัวกะหล่ำปลี เจี๊ยบน้อยก็จะกินน้ำของหัวกะหล่ำปลี (ก็หัวกะหล่ำปลีมันใหญ่เกินกว่าที่เจี๊ยบน้อยจะแทะนี่) เจี๊ยบน้อยชอบกินแมลงกับหนอน หนอนกับแมลง อ้อ! แล้วก็เมล็ดพืชด้วยวันหนึ่ง เจ้ากระต่ายจะต้องไปธุระไกลๆ มันจึงสั่งเจี๊ยบน้อยว่า “ระหว่างเราไม่อยู่ นายลองไปหาเพื่อนเล่นดูสิ แล้วอย่ากลับบ้าน ค่ำนักล่ะ”แต่เจี๊ยบน้อยไม่ค่อยกล้า มันรู้สึกเขินๆ “ใครจะอยากมาเล่นกับลูกเจี๊ยบตัวจ้อยๆ อย่างเรา อีกอย่างหนึ่ง นอกจากนายแล้ว เราก็ไม่รู้จักใครเลย”เจ้ากระต่ายจึงปลอบว่า “มีเพื่อนๆ มากมายที่อยากจะเล่นกับนายนะ เชื่อเราสิ” แล้วเจ้ากระต่ายก็กระโดดไปตอนนี้ เหลือแต่เจ้าเจี๊ยบน้อยตัวเดียวในโลกอันกว้างใหญ่เหลือเกินและแล้ว ก็มีแมลงเต่าทองบินมาเด็กๆคิดว่ามันจะเล่นกับเจี๊ยบน้อยไหม ???แน่นอนที่สุด มันไม่เล่นด้วยหรอก มันกลัวว่าเจี๊ยบน้อยจะกินมันน่ะสิหนอนตัวหนึ่งคลานกระดึ๊บ กระดึ๊บเข้ามาใกล้มันจะเล่นกับเจี๊ยบน้อยไหม ???แน่นอนที่สุด มันไม่เล่นด้วยหรอก ก็เจี๊ยบน้อยกินหนอนเหมือนกันนี่นานกกระจิบบินมา 5 ตัวมันจะเล่นกับเจี๊ยบน้อยไหม ???เล่นซิ นกกระจิบบอกว่า “เราเป็นพวกมีปีกเหมือนกัน”เจ้าบีเวอร์ผ่านมา 1 ตัวมันจะเล่นกับเจี๊ยบน้อยไหม ???มันไม่ค่อยอยากเล่นนักหรอก บีเวอร์ชอบว่ายน้ำ แต่เจี๊ยบน้อยว่ายน้ำไม่เป็นนี่เจี๊ยบน้อยจึงเดินต่อไป จนกระทั่งถึงสวนดอกไม้ มันหยุดมองด ูดอกไม้สีขาวเหงาๆ ดอกหนึ่ง แต่ดอกไม้ท่าทางจะไม่เหงาแล้วล่ะ เพราะมีผีเสื้อสีชมพูแสนสวย บินมาหยอกล้อ เล่นกับดอกไม้แล้ว ถ้าอย่างนั้นผีเสื้อ จะเล่นกับเจี๊ยบน้อย หรือเปล่านะ“ไม่หรอก ผีเสื้อจะเล่น กับดอกไม้เท่านั้น” แล้วผีเสื้อก็บินจากไปเจี๊ยบน้อยรู้สึกเหงามาก มันนั่งหงอยเหงาอยู่ตัวเดียว และแล้วมันก็เห็นชายคนหนึ่งท่าทางเหนื่อยอ่อนเดินผ่านมา แล้วชายคนนี้จะเล่นกับเจี๊ยบน้อยไหมนะไม่หรอก เขาเหนื่อยเกินกว่าจะเล่นกับเจี๊ยบน้อยต่อไปจะเจอใครอีกนะนั่นแน่ะ ตัวอะไรกลมๆ มีขนแหลมๆ เดินมาทางนี้อ๋อ คุณเม่นนั่นเอง แต่ว่าเจี๊ยบน้อยก็ไม่อยากเล่นกับคุณเม่นหรอก เจี๊ยบน้อยบอกว่า “ขนแหลม น่ากลัวจัง”แล้วนั่น เจ้าหมีตัวโต “แฮ่” เจ้าหมีคำราม ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ทั้งสองไม่เล่นด้วยกันแน่นอนตะวันเริ่มคล้อยต่ำลงแล้ว มีลูกเป็ดก๊าบ ก๊าบเดินผ่านมาตัวหนึ่ง ตัวเท่ากับลูกเจี๊ยบน้อยเลย!เจี๊ยบน้อยน่าจะได้เพื่อนเล่นแล้วนะ แต่…เล่นได้ไม่นาน ลูกเป็ดก๊าบ ก๊าบก็ชวนเจี๊ยบน้อยไปว่ายน้ำ แย่จัง ก็เจี๊ยบน้อยว่ายน้ำเป็นที่ไหนล่ะในที่สุดเจี๊ยบน้อยก็เดินจากมา จนกระทั่งพบลิงจ๋อตัวหนึ่ง มันจะเล่นด้วยกันไหมนะ นั่นแน่ะ เจ้าลิงจ๋อเดินมาเล่นด้วยแล้ว ทั้งสองเล่นกันจนกระทั่งค่ำได้เวลาที่เจ้ากระต่ายจะกลับมาแล้ว เจี๊ยบน้อยจึงต้องลาลิงจ๋อแล้วรีบกลับบ้าน“เป็นยังไงบ้างเจี๊ยบน้อย เหงารึเปล่าวันนี้” เจ้ากระต่ายถาม“ก็เหงาบ้าง ไม่เหงาบ้างตามประสาเจี๊ยบน้อยนั่นแหละ” เจี๊ยบน้อยตอบ แล้วทั้งสองก็หัวเราะชอบใจคืนนั้น เจี๊ยบน้อยซุกตัวนอน ในอ้อมกอดอันอบอุ่น และ แสนสบายของเจ้ากระต่าย แล้วก็คงจะฝัน อะไรน่ารักๆ ตามประสาเจี๊ยบน้อยนั่นแหละ……คร่อกฟี้……ฝันดีจ้ะเด็กๆ

วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2552

หน่วยข้าว

แผนการสอนที่ 1
เรื่อง ข้าวมหัศจรรย์
ผู้สอน นางสาวพัชนี แบ่งเพชร
วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้เด็กรู้จักชนิดของข้าว เช่น ข้าวสาร ข้าวเปลือก ข้าวสวย ข้าวเหนียว
2.เพื่อให้เด็กรู้จักลักษณะของข้าว
3.เพื่อให้เด็กรู้จักการนำข้าวมาประกอบอาหาร
4. เพื่อให้เด็กรู้ถึงประโยชน์ของข้าว
ขั้นนำ
ครูและนักเรียนร่วมกันท่องคำคล้องจองข้าว พร้อมทำท่าทางอิสระประกอบคำคล้องจองตามจินตนาการและสนทนาเนื้อหาของคำคล้องจอง
คำคล้องจองข้าว
ข้าวทุกจาน อาหารทุกอย่าง
อย่ากินทิ้งขว้าง เป็นของมีค่า
ผู้คนอดอยาก มีมากนักหนา
สงสารบรรดา เด็กตาดำดำ
ขั้นสอน
1.ให้เด็กนับว่าข้าวมีกี่ประเภท แล้วให้เด็กนำตัวเลขมาแทนค่าที่เด็กนับจำนวนถ้วยข้าวได้
2.ให้เด็กนับว่าข้าวมีกี่สี แล้วให้เด็กนำตัวเลขมาแทนค่าที่เด็กนับจำนวนสีของข้าวได้
3.ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับข้าวว่ามีรูปทรงเป็นอย่างไร เหมือนกับอะไร ที่เด็กๆรู้จักบ้าง

ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับลักษณะเมล็ดข้าว

อุปกรณ์
1.ถ้วย

สื่อ
1.ข้าวเปลือกจ้าว 2.ข้าวเปลือกเหนียว
3.ข้าวสารจ้าว 4.ข้าวสารเหนียว
5.ข้าวสุกจ้าว 7.ข้าวสุกเหนียว
8.ตัวเลข 1-10 9.คำคล้องจอง




แผนการสอนที่ 2
เรื่อง ส่วนประกอบของข้าว
ผู้สอน นางสาวสุนิดา ทิพประมวล
ขั้นนำ
ครูและนักเรียนร่วมกันท่องคำคล้องจองข้าว พร้อมทำท่าทางอิสระประกอบคำคล้องจองตามจินตนาการและสนทนาเนื้อหาของคำคล้องจอง
คำคล้องจองข้าว
ข้าวทุกจาน อาหารทุกอย่าง
อย่ากินทิ้งขว้าง เป็นของมีค่า
ผู้คนอดอยาก มีมากนักหนา
สงสารบรรดา เด็กตาดำดำ
ขั้นสอน
1.ครูใช้คำถาม เด็กๆรู้ไหมค่ะว่าข้าวมีส่วนประกอบอะไรบ้าง เช่น เปลือกของข้าว เมล็ดข้าว
2.ครูให้เด็กๆต่อจิกซอที่เป็นส่วนประกอบของข้าว

ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับส่วนประกอบของเมล็ดข้าว
อุปกรณ์
1.ถ้วย

สื่อ
1.ข้าวเปลือกจ้าว 2.ข้าวเปลือกเหนียว
3.ข้าวสารจ้าว 4.ข้าวสารเหนียว
5.ข้าวสุกจ้าว 7.ข้าวสุกเหนียว
8.จิกซอ 9.คำคล้องจอง


แผนการสอนที่ 3
เรื่อง ประโยชน์ของข้าว
ผู้สอน นางสาวธารทิพย์ ชิดจังหรีด

ขั้นนำ
ครูและนักเรียนร่วมกันท่องคำคล้องจองข้าว พร้อมทำท่าทางอิสระประกอบคำคล้องจองตามจินตนาการและสนทนาเนื้อหาของคำคล้องจอง
คำคล้องจองข้าว
ข้าวทุกจาน อาหารทุกอย่าง
อย่ากินทิ้งขว้าง เป็นของมีค่า
ผู้คนอดอยาก มีมากนักหนา
สงสารบรรดา เด็กตาดำดำ

ขั้นสอน
1.ครูใช้คำถาม เด็กๆรู้ไหมว่าข้าวมีประโยชน์อย่างไร
2.ครูนำภาพที่แปรรูปมาจากข้าวให้เด็กๆดู เช่น เส้นก๋วยเตี๋ยว แป้ง ขนมปัง
3.ครูสนทนากับเด็กๆเกี่ยวกับโทษของข้าว
ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับโทษและประโยชน์ของข้าว
อุปกรณ์
1.ถ้วย
สื่อ
1.ข้าวเปลือกจ้าว 2.ข้าวเปลือกเหนียว
3.ข้าวสารจ้าว 4.ข้าวสารเหนียว
5.ข้าวสุกจ้าว 7.ข้าวสุกเหนียว
8.ภาพโปสเตอร์ 9.คำคล้องจอง

แผนการสอนที่ 4
เรื่อง สถานที่
ผู้สอน นางสาววัชรา ทิพเจริญ
ขั้นนำ
ครูและนักเรียนร่วมกันท่องคำคล้องจองข้าว พร้อมทำท่าทางอิสระประกอบคำคล้องจองตามจินตนาการและสนทนาเนื้อหาของคำคล้องจอง


คำคล้องจองข้าว
ข้าวทุกจาน อาหารทุกอย่าง
อย่ากินทิ้งขว้าง เป็นของมีค่า
ผู้คนอดอยาก มีมากนักหนา
สงสารบรรดา เด็กตาดำดำ

ขั้นสอน
1.ครูใช้คำถาม เด็กๆเคยเห็นข้าวจากที่ไหนบ้าง เช่น ร้านค้า ห้างสรรพสินค้า นาข้าว โรงสี ยุ่งข้าว ที่บ้าน
2.ครูนำภาพจิกซอ เช่น ภาพต้นข้าวในนา
ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับสถานที่พบข้าว และร่วมกันร้องเพลง
เพลงข้าว
มากินข้าวสิ มากินข้าวสิ
กับดี ดี กับดี ดี
มีทั้งแกงและต้มยำ อ่ำ อ่ำ อั้ม อร่อยดี
อุปกรณ์
1.ถ้วย
สื่อ
1.ข้าวเปลือกจ้าว 2.ข้าวเปลือกเหนียว
3.ข้าวสารจ้าว 4.ข้าวสารเหนียว
5.ข้าวสุกจ้าว 7.ข้าวสุกเหนียว
8.จิกซอ 9.คำคล้องจอง

วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

วันที่ 5 กุมภาพันธุ์ 2552

วันนี้อาจารย์ สอนเกี่ยวกับการวางแผนการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ ในแต่ละกลุ่มมีกี่คน
แล้วให้สอนตามวัน โดยอาจจะจัดการสอนแบบ
วันที่ 1 สอนเกี่ยวกับลักษณะของหน่วย โดยการใช้เกณฑ์อย่างเดียว เช่น รูปร่าง ขนาด
โดยมีการใช้คำถามการเปรียบเทียบ การนับ
วันที่ 2 สอนเกี่ยวกับส่วนประกอบของหน่วยที่ทำ โดยอาจมีการทบทวนความรู้เดิมต่อเนื่องจากที่เราสอนเมือวานนี้ อาจใช้เพลงหรือนิทาน คำคล้องจอง หรืออาจจะใช้คำถามเช่น เมื่อวานนี้เราเรียนเกี่ยววกับอะไรเด็กๆ จำได้หรือเปล่ามีอะไรบ้างคะ
วันที่ 3 สอนเกี่ยวกับประโยชน์ของหน่วยที่ทำ โดยสอนผ่านนิทานที่สามารถบอกประโยชน์ของเรื่องที่ทำได้ หรืออาจจะพูดถึงประโยชน์และโทษของหน่วยที่

วันพฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2551

วันพฤหัสบดี ที่ 18 ธันวาคม 2551

วันนี้อาจารย์พูดเกี่ยวการไปสังเกตการณ์ ว่าโรงเรียนไดบ้างที่มีการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์
สิ่งที่เรียนวันนี้ หลักการสอนคณิตศาสตร์
1 .สอนให้อดคล้องกับชีวิตประจำวัน
2 .เปิดโอกาศให้เด็กไดรับประสบการณ์ทีทำให้พบคำตอบด้วยตนเอง
3 .มีเป้าหมายและการว่างแผนอย่างดี
4.เอาใจใส่เรื่องการเรียนรู้และลำดับขั้นตอนของการพัฒนาความคิดรวบยอด
5.ใช้วิธีการจดบันทึกพฤติกรรมหรือระเบียบพฤตการณ์ของเพื่อใช้การว่างแผนและการจัดกิจกรรม
6.ใช้ประโยน์จากประสบการณ์เดิมของเด็ก
7.รู้จักใช้สถานการณ์ขณะนั้นให้เป็นประโยน์
8.ใช้วิธีสอดแทรกกับชีวิตจริง เพื่อสอนความคิดรวบยอดที่ยากๆ
9.ใช้วิธีให้เด็กมีส่วนร่วมหรือปฏิบัติการจริงๆเกี่ยวกับตัวเลข
10.วางแผนส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ทันทีที่โรงเรียนและบ้านอย่างต่อเนื่อง
11.บันทึกปัญหาการเรยีนรู้ของเด็กอย่างสม่ำเสมอเพื่แก้ไขปรับปรุง
12.คาบหนึ่งควรสอนเพียงความคิดรวบยอดเดียว
13.เน้นกระบวนการเล่นจากง่ายไปยาก
14.ครู่ครวสอนสัญลักษณ์ด้วยเลขหรือเครื่องหมายเมื่อเด็กเข้าใจสิ่งนั้น
การเตรียมความพร้อมให้เด็กเก่งคณิตศาสตร์นั้นจะต้องฝึกให้เด็กมีพัฒนาการทางสายตาก่อนเป็นอันดับแรกถ้าหากเด็กไม่สามารถใช้สายตาในการจำแนกจัดแบ่งประเถทแล้ว เด็กก็จะมีปัญหาด้านการเรียนรู้กับคณิตศาสตร์ได้



วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

สัปดาห์ที่ 4 วันที่ 27 พฤศจิกายน 2551

นักศึกษาทุกคนที่ไปสังเกตการณ์ให้เก็บข้อมูล
เกี่ยวกับ กิจกรรมคณิตศาสตร์ และการจัดสภาพแวดล้อม
ลงในบล็อก
เนื้อหาสาระที่ได้วันนี้
มาตรฐานการวัดในระบบเมตริก
1. คำศัพท์ที่เด็กควรทราบ
2. ระบบเมตริกที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
3. การวัดเรื่องสัปดาห์ เช่น หนึ่งสัปดาห์มีกี่วัน
ลักษณะหลักสูตรที่ดี
มีความสมดุลในเรื่องต่อไปนี้
1. เน้นกระบวนการคิดและพัฒนาความคิดรวบยอด
2. เน้นการเรียนรู้ภาษาและการใช้ภาษาพูดที่สัมพันธ์กับกิจกรรมในชีวิตประจำวันไม่ใช้การท่องจำ
3.แนะนำคำศัพท์ใหม่ๆและสัญลักษณ์อย่างค่อยเป็นค่อยไป
4.ส่งเสริมให้เด็กเกิดความเชื่อมั่นและค้นคว้าข้อมูลเพื่อให้ได้คำตอบ
5.ส่งเสริมให้เด็กเกิดความรับรู้สามารถบรรยายและค้นคว้าเพิ่มเติม
6.เน้นให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดมีทักษะคณิตศาสตร์ไปพร้อมๆกัน
7.เปิดให้เด็กค้นคว้าสำรวจ ปฎิบัติ รู้จักตัดสินใจด้วยตนเอง

วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

เพลง 1,2,3

1,2,3 1,2,3 ยักเอวไปมา
ยักซ้าย ๆ แล้วก็ยักขวา ๆ
หมุนตัวไปมา แล้วก็ร้องไซโย
ไซโย ฮูเล ปั่ม ปัม ปัม ปัม